สภาพทางสังคม
เทศบาลตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
สภาพทางสังคม
ด้านสังคม
- ตำบลศรีษะเกษ ประกอบด้วย 14 หมู่บ้าน มีประชากรจำนวน 7,298 คน (ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ เดือน พฤษภาคม 2555) มีรายละเอียดดังนี้
หมู่ที่
จำนวนครัวเรือน
จำนวนประชากร
หมายเหตุ
ชาย
หญิง
รวม
หมู่ที่1
179
343
331
674
หมู่ที่ 2
107
105
114
219
หมู่ที่ 3
208
326
314
640
หมู่ที่ 4
123
188
185
373
หมู่ที่ 5
193
330
312
642
หมู่ที่ 6
269
326
346
672
หมู่ที่ 7
276
424
454
878
หมู่ที่ 8
168
268
262
530
หมู่ที่ 9
270
422
417
839
หมู่ที่ 10
231
337
336
673
หมู่ที่ 11
38
71
54
125
หมู่ที่ 12
117
201
191
392
หมู่ที่ 13
124
207
209
416
หมู่ที่ 14
71
111
114
225
รวม
2,374
3,659
3,639
7,298
การศึกษา
- การจัดการศึกษาในตำบล มีหน่วยงานและสถาบันทางการศึกษา แยกได้ดังนี้
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขนาดใหญ่ จำนวน 1 แห่ง
- จำนวนผู้ดูแลเด็ก 14 คน จำนวนเด็กเล็ก 148 คน
- โรงเรียนระดับประถมศึกษา 3 แห่ง ได้แก่
- โรงเรียนบ้านหนองบัว จำนวนนักเรียนทั้งหมด 57 คน
- โรงเรียนบ้านหนองห้า จำนวนนักเรียนทั้งหมด 71 คน
- โรงเรียนบ้านน้ำหก จำนวนนักเรียนทั้งหมด 27 คน
- โรงเรียนระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษาตอนต้น 2 แห่ง
- โรงเรียนบ้านหัวเมือง จำนวนนักเรียนทั้งหมด 127 คน
- โรงเรียนบ้านใหม่ จำนวนนักเรียนทั้งหมด 142 คน
การสาธารณสุข
- ตำบลศรีษะเกษมีสถานบริการทางด้านสาธารณสุข คือ โรงพยาบาลชุมชุน ขนาด 30 เตียง 1 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล 1 แห่ง หน่วยควบคุมโรคที่นำโดยแมลง 10.5.9 1 แห่งศูนย์บริการสาธารณสุขมูลฐานชุมชน 14 แห่ง
การนับถือศาสนา
- ประชาชนในตำบลศรีษะเกษร้อยละ 100 นับถือศาสนาพุทธ มีจำนวนวัด 8 แห่ง และสำนักสงฆ์ 2 แห่ง
วัฒนธรรมประเพณี
- ตำบลศรีษะเกษมีขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมที่สำคัญคือ ประเพณีนมัสการพระธาตุศรีษะเกษ ซึ่งจะจัดขึ้นทุกวันที่ 16 เมษายน ของทุกปี เป็นประเพณีที่ชาวตำบลศรีษะเกษให้ความสำคัญและถือเป็นประเพณีที่หล่อหลอมจิต ใจชาวตำบลศรีษะเกษให้มีความแน่นแฟ้นกันมาช้านาน มีกิจกรรมที่น่าสนใจคือ การสรงน้ำพระธาตุ การรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ การจุดบั้งไฟบูชาองค์พระธาตุ การละเล่นพื้นบ้าน เช่น สะบ้า โก๋งเก๋ง และมีการจัดขบวนแห่ที่สวยงามซึ่งแสดงถึงวิถีชีวิตของชุมชนจากทุกหมู่บ้านใน ตำบล
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ทรัพยากรป่าไม้ พื้นที่ป่าไม้ของตำบลศรีษะเกษเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำของแม่น้ำน่านที่มีความสำคัญยิ่ง ซึ่งกรมป่าไม้ได้ประกาศเป็นพื้นที่อนุรักโซน C อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติฝั่งขวาของแม่น้ำน่านตอนใต้ ซึ่งในอดีตที่ทรัพยากรป่าไม้ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ สามารถกักเก็บและระบายน้ำลงสู่แม่น้ำน่านได้เป็นปริมาณมากและสม่ำเสมอ แต่ภายหลังมีการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อตอบสนองความต้องการที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้อย่างฟุ่มเฟือย ทำให้มีการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติศรีน่านและการจัดตั้งป่าชุมชนเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันของหมู่บ้าน โดยในเขตอุทยานแห่งชาติศรีน่านมีลักษณะของป่าเป็น ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ ยอดเขาที่สูงที่สุด คือ ดอยคำ สูง 1,294 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล
- ทรัพยากรน้ำ แม่น้ำน่านอยู่ทางทิศตะวันออกหลังเทือกเขาสูง ชาวตำบลศรีษะเกษจึงไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแม่น้ำน่านได้เท่าที่ควร สำหรับลำน้ำแหงที่เป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำน่านเป็นแห่งน้ำธรรมชาติที่มีความ สำคัญต่อชุมชนตำบลศรีษะเกษเป็นอย่างยิ่ง มีต้นน้ำอยู่ที่ขุนสถานทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอ โดยสายน้ำจะไหลมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศเหนือตามความลาดเทของ ภูมิประเทศซึ่งมีเขื่อนน้ำแหงกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ด้านเกษตรกรรมในฤดู แล้ง ส่วนลำน้ำ ลำห้วยสาขาในตำบลศรีษะเกษ เช่น ลำน้ำกาด ห้วยน้ำหก ห้วยถ้ำ ห้วยทรายทอง ห้วยน้ำแอบ เป็นต้น รวม 6 สาย
- ทรัพยากรสัตว์ป่า เขตอุทยานแห่งชาติศรีน่านมีสัตว์ป่าชุกชุมมากมาย เช่น กวาง เก้ง เลียงผา เสือ ช้าง วัวแดง กระทิง หมูป่า และนกยูง ซึ่งมีในป่าเพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางชีวภาพของป่าผืนนี้ที่ควรอนุรักษ์เอาไว้ แต่ในปัจจุบันมีการบุกรุกเข้าไปล่าสัตว์ป่าอย่างมากมาย เพื่อนำมาบริโภคทำให้จำนวนสัตว์ป่ามีจำนวนลดลงและใกล้สูญพันธุ์